ประเภทของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
คือการสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก และการสอนแบบเน้นสื่อ
- การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลักการสอนแบบนี้ได้แก่
1) การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Base Learning)
เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้
ผู้เรียนจะคิด
วิเคราะห์ปัญหา ตั้งสมมุติฐาน อันเป็นที่มาของปัญหา
และหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ผู้เรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จะเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ มาก่อน
เพื่อจะสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ โดยกระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักได้
หากพื้นความรู้เดิมของผู้เรียนไม่เพียงพอ
จะต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองในการดำเนินการสอน
ผู้สอนจะต้องนำปัญหาที่เป็นความจริงมาเขียนเป็นกรณีศึกษาหรือสถานการณ์ในผู้เรียน
โดยผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
(1) ทำความเข้าใจกับศัพท์บางคำหรือแนวคิดบางอย่างในสถานการณ์นั้นๆ
(2) ระบุประเด็นปัญหาจากสถานการณ์
(3) วิเคราะห์ประเด็นปัญหา
(4) ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
(5) ทดสอบสมมุติฐาน
และจัดลำดับความสำคัญ
(6) กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
(7) รวบรวมข้อมูลข่าวสารและความรู้จากแหล่งต่างๆ
ด้วยตนเอง
(8) สังเคราะห์ข้อมูลใหม่ที่ได้พร้อมทั้งทดสอบ
(9) สรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
มีลักษณะที่สำคัญ คือผู้เรียนจะ
ได้เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มๆ
ประมาณ 6–8 คน
มีการอภิปรายและค้นคว้าหาความรู้ด้วยกัน มีการเรียนรู้ด้วยตนเองเนื้อหาสาระที่กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้น
จะเป็นเนื้อหาที่เกิดจากการบูรณาการเนื้อหาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่กำหนดนั้นอย่างชัดเจน
2) การสอนแบบนิรมิตวิทยา (Constructivism)
เป็นการจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของ
ตนเองโดยมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของผู้เรียนอาจได้จากการดำเนินกิจกรรมการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า
ทดลอง ระดมสมองศึกษาใน ความรู้ ฯลฯ
การตรวจสอบองค์ความรู้ใหม่ ทำให้ได้ทั้งการตรวจสอบกันเองในระหว่างกลุ่มผู้เรียนผู้สอนจะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ใหม่ให้ถูกต้อง
ดังแผนภาพ
ลำดับขั้นตอนการสอนตามแนวความคิดแบบนิรมิตวิทยารายละเอียดของ
การดำเนินการสอนตามรูปแบบมีดังนี้
(1) ผู้สอนบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
(2) ผู้สอนให้ผู้เรียนระดมพลังสมองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
(4) ผู้สอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
(5) ผู้สอนให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นมาใช้ในสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้
(5) ผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนครั้งนี้
3) การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด (Concept Attainment)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง โดยสามารถระบุลักษณะเด่น ลักษณะรอง ของสิ่งนั้นๆ
ได้ สามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได ้ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
(1)ผู้สอนจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
โดยการนำเสนอ
เหตุการณ์รายละเอียดของสิ่งนั้น
(2)ผู้สอนให้ผู้เรียนระบุลักษณะเด่น
ลักษณะรอง ของสิ่งที่ได้สังเกตและให้
ผู้เรียนหาลักษณะที่เหมือนกันลักษณะที่แตกต่างกัน
(3) ผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปลักษณะสำคัญที่สังเกตได้
พร้อมให้ชื่อของสิ่งนั้น
(4) ผู้สอนตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน
และความเป็นไปได้ความ
เหมาะสมของชื่อความคิดรวบยอดนั้น
(5)ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนได้
นำความคิดรวบยอดที่
เกิดขึ้นไปใช้
4) การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Cooperative Learning)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนร่วมมือกันทำงานช่วยเหลือซึ่ง
กันและกันมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
และประสานงานกัน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
(1)จัดชั้นเรียนโดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆประมาณ 3-6
คนโดยจัดคละกันตามความสามารถทางการเรียนมีทั้งเก่งปานกลางและอ่อน
(2)ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง
และรับผิดชอบการ
เรียนรู้ของเพื่อนๆ ภาย
ในกลุ่มของตนเองด้วย
(3)สมาชิกทุกคนในกลุ่ม
จะต้องร่วมมือในการทำงานอย่างเต็ม
ความสามารถโดยสนับสนุนยอมรับ
และไว้วางใจซึ่งกันและกันเพื่อให้สมาชิกทุกคนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical Thinking)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถ
ใน
การใช้ความคิดพิจารณา
ตัดสินเรื่องราว ปัญหา ข้อสงสัยต่างๆอย่างรอบคอบ และมีเหตุผล
ผู้สอนจะเป็นผู้นำเสนอปัญหา และดูแล ให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมของผู้เรียน
กิจกรรมการสอนจะเริ่มจากปัญหาที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะ และประสบการณ์ของผู้เรียน
ซึ่ง ยั่วยุผู้เรียนให้อยากศึกษา ผู้เรียนจะรู้สึกว่าไม่มีคำตอบหรือคำตอบมี
แต่ไม่เพียงพอ ผู้เรียนต้องมีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆ และใช้กระบวนการคิด
อย่างหลากหลาย
รวมทั้ง วิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล และเป็นลำดับขั้นตอน
เพื่อนำไปสู่การตัดสินเพื่อเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดกับปัญหาที่นำมาใช้ในบทเรียนขั้นตอนการสอนมีดังนี้
(1) ผู้สอนนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นคำถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิดผู้เรียน
ตอบคำถามของผู้สอนโดยให้คำตอบที่หลากหลาย
(2) ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการอภิปราย
ร่วมกันหรือให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่
(3) ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคำตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา
(4) ผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปคำตอบที่เด่นชัดที่สุด
- 5.2 การเรียนการสอนแบบเน้นสื่อ
การเรียนการสอนแบบเน้นสื่อ
เป็นประเภทของการสอนในลักษณะใช้สื่อเป็นหลัก
เช่นการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
การสอนแบบศูนย์การเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรม CAI หรือ ELearning เป็นต้น
6. การวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การประเมินผลเป็นกระบวนการสำคัญที่มีส่วนเสริมสร้างความสำเร็จให้กับผู้เรียน
และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน
การประเมินผลจำเป็นต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกันแต่ในการจัดการศึกษาที่ผ่านมากลับมีเหตุการณ์ที่ทำให้ดูเหมือนการสอนกับการประเมินผลเป็นคนละส่วน
แยกจากกัน
การประเมินผลน่าจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน
แต่กลับกลายเป็นเครื่องมือตัดสินหรือตีตราความโง่ความฉลาด
สร้างความกดดันและเป็นทุกข์ให้กับผู้เรียน
ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการเรียนรู้ถูกตัดสินในครั้งสุดท้ายของกระบวนการเรียนการสอน
โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลงานความสำเร็จหรือพัฒนาการที่มีขึ้นในระหว่างกระบวนการเรียนรู้
และนอกเหนือจากนั้น
กระบวนการที่ใช้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ในบางครั้งก็ไม่ได้กระทำอย่างสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการวัดจริงเพราะผู้สอนมักจะเคยชินกับการใช้เครื่องมือวัดเพียงอย่างเดียว
คือ การใช้แบบทดสอบ
ซึ่งมีข้อจำกัดในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทางด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัยดังนั้น
เมื่อมีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแล้วก็มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปกระบวนการวัดและประเมินผลใหม่ด้วยให้สอดคล้องกัน
ซึ่งผู้รู้ในวงการศึกษาได้ยอมรับกันว่า
แนวคิดในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม คือ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง
- 6.1 การวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน
ดังนั้น
เมื่อการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2545 มุ่งให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ
การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป
ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วยประเมินตามสภาพจริงของผู้เรียน
มีลักษณะสำคัญดังนี้
1) เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม
ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา
ทุกสภาพการณ์
2) เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริงๆ
3) เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4) ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย
ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับ
วิธีการประเมินตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
5) เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้
ความสามารถหลาย ๆ ด้าน
6) การประเมินด้านความคิด
เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
7) เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
และการมีส่วนร่วมในการประเมินของ
ผู้เรียนผู้ปกครองและผู้สอน
- 6.2 วิธีการและเครื่องมือการวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
เป็นการประเมินการแสดงออกของ
ผู้เรียนรอบด้านตลอดเวลา
ใช้ข้อมูลและวิธีการหลากหลาย ด้วยวิธีการและเครื่องมือ ดังนี้
1) ศึกษาวัตถุประสงค์ของการประเมิน
เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน
รอบด้าน ดังนั้น จึงใช้วิธีการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เช่น การสังเกต
สัมภาษณ์ การตรวจผลงานการทดสอบบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง การรายงานตนเองของผู้เรียน
แฟ้มสะสมงานเป็นต้น
2) กำหนดเครื่องมือในการประเมิน
เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของการ
ประเมิน
ให้เป็นการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงแล้ว
ในการกำหนดเครื่องมือจึงเป็นเครื่องมือที่หลากหลาย เป็นต้นว่า
(1) การบันทึกข้อมูล
จากการศึกษา ผลงาน โครงงาน หนังสือที่
ผู้เรียนผลิต แบบบันทึกต่างๆ
ได้แก่ แบบบันทึกความรู้สึก บันทึกความคิด บันทึกของผู้เกี่ยวข้อง (นักศึกษาเพื่อนอาจารย์ ผู้ปกครอง) หลักฐานร่องรอยหรือผลงานจากการร่วมกิจกรรม
เป็นต้น
(2) แบบสังเกต
เป็นการสังเกตพฤติกรรม การร่วมกิจกรรมใน
สถานการณ์ต่างๆ
(3) แบบสัมภาษณ์
เป็นการสัมภาษณ์ความรู้สึก ความคิดเห็น
ทั้งตัวผู้เรียน
และผู้เกี่ยวข้อง
(4) แฟ้มสะสมงาน
เป็นสื่อที่รวบรวมผลงานหรือตัวอย่างหรือ
หลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์
ความสามารถ ความพยายาม
หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นสำคัญที่ต้องเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
(5) แบบทดสอบ
เป็นเครื่องมือวัดความรู้ ความเข้าใจที่ยังคงมี
ความสำคัญต่อการประเมินสำหรับผู้ประเมิน
ประกอบด้วย ผู้เรียนประเมินตนเองผู้สอน เพื่อนกลุ่มเพื่อน
ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องกับนักศึกษา
- 6.3 การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการ
จัดการเรียนการสอน
การนำแนวคิดการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1) ก่อนนำไปใช้
ผู้สอนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการประเมินตามสภาพ
จริง
ที่สำคัญที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองและลงมือปฏิบัติจริง
พัฒนาความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
2) การแนะนำให้ผู้เรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานของผู้เรียน
นอกจากจะแสดงพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว
ยังเป็นการสะท้อนการสอนของผู้สอน เพื่อจะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
2.1) หลักการเบื้องต้นของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน มีดังนี้
(1) รวบรวมผลงานที่แสดงถึงพัฒนาการด้านต่างๆ
(2) รวบรวมผลงานที่แสดงลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
(3) ดำเนินการควบคู่กับการเรียนการสอน
(4) เก็บหลักฐานที่เป็นตัวอย่างที่แสดงความสามารถในด้านกระบวนการและผลผลิต
(5) มุ่งเน้นในสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้
2.2) ความสำคัญของแฟ้มสะสมงาน
คือ การรวบรวมข้อมูลของเรียน
ทำให้ผู้สอนได้ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคล
และนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาใช้ปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนได้เต็มศักยภาพของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น