วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ทักษะสำหรับโลกอนาคต




       การเตรียมตัวตัวพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้ทันต่อความสามารถของ Ai เพราะในอนาคตนักเรียนจะต้องแข่งขันกับปัญญาประดิษฐ์หรือ Ai ดังนั้นผู้สอนควรเร่งปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ต้องเตรียมตัวนักเรียนสำหรับงานที่ยังไม่มี โดยต้องใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด และแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไรซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายมากสำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตคือเรียนรู้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยชรา ทักษะที่สำคัญคือ ทักษะที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนแบบเดิมคือเน้นตัว I ตัวเดียวคือ Information คือการเอาเท็จจริงเอาข้อมูลจากห้องเรียนเพียงอย่างเดียว การเรียนแบบนี้จะมีประโยชน์น้อยลง

       การเรียนแบบวิทยาศาสตร์ที่สู้ Ai ได้ควรจะมี 4I คือ

1.จินตนาการ (Imagination )

2.แรงดลใจ (Inspiration)

3.ความเข้าใจลุ่มลึก (Insight)

4.ญาณทัศน์ (Intuition)


       และควรมีทักษะแห่งโลกหรือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ ASK

ได้แก่ AคือAttitude(ทัศนคติ+อุปนิสัย) SคือSkill(ทักษะ) และKคือKnoeledge(ความรู้)

       การเรียนปัจจุบันเน้น K มากเกินไป เน้น AและSน้อยเกินไป การเรียนการสอนต้องเป็นสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมบทบาทมากขึ้น และเปลี่ยนจากการเรียนรู้โดยการฟังเป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติลงมือทำ



 
การเรียนการสอนต้องเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น หรือที่เรียกว่า การเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Active Learning) ครูจะมีบทบาทน้อยลง เพราะการบรรยายทำให้เด็กซึมซับความรู้ได้น้อยกว่าการปฏิบัติ

Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 ประการ คือ

1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน


ความรู้ที่ได้เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว เกิดการเรียนรู้จากการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า




                   แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเสนอกระบวนทัศน์ที่กว้างขวางด้านการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง ที่ต้องการ  ทั้งการเข้าถึงที่เปิดกว้างต่อบริการการศึกษา แต่ยังต้องปรับปรุงแรงจูงใจของกลุ่มคนหนุ่มสาวเยาวชนที่จะเรียนรู้ และมีขีดความสามารถที่จะเรียนโดยอิสระ ทักษะขั้นพื้นฐาน เป็นสิ่งจำเป็นต่อทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชุดที่ 7

วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้     ประจำภาคเรียนที่ 2 / 25 60        โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร . พิจิตรา ธงพานิช                     ...